เครื่องวัดความสั่นสะเทือน Vibration Meter
ความรู้พื้นฐานเครื่องวัดความสั่นสะเทือน Basic of Vibration
การสั่นสะเทือน (Vibration) การสั่นสะเทือน คือ การเคลื่อนที่ของวัตถุในทิศทางซ้ำๆ เช่น จากข้างหน้าไปข้างหลัง จากซ้ายไปขวาหรือจากบนลงล่างยกตัวอย่างตุ้มน้ำหนักและสปริงเมื่อดึงตุ้ม น้ำหนักลงและปล่อยทิศทางการเคลื่อนที่จะเป็นแบบขึ้นและ ลงซ้ำไปซ้ำมา การเคลื่อนที่ดังกล่าวจะทำให้เกิด Waveform (ดังภาพ)
พื้นฐานการวัดแรงสั่นสะเทือน จะต้องทำความรู้จักกับ องค์ประกอบ 4 ตัว ดังนี้
1. ความถี่ (Frequency)
คือ ความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนรอบของการเคลื่อนที่หรือรอบของการหมุนต่อหน่วยเวลา รอบต่อวินาที จากตัวอย่างข้างต้นถ้าหากเพลาหมุนด้วยความเร็ว 1,200 รอบต่อนาที (rpm) ความถี่ในการหมุนก็จะเท่ากับ 1,200/60 = 20 รอบต่อวินาทีหรือ 20 Hz
2. การวัดระยะทางของการสั่นสะเทือน (Displacement)
คือ การวัดระยะทางการเคลื่อนที่ของวัตถุที่มีการสั่นสะเทือนว่า “มีการเคลื่อนที่ไปจากจุดอ้างอิงเท่าใดในการสั่นสะเทือนแต่ละรอบ”โดยปกติจะ นิยมวัดเป็นมิลลิเมตร (mm) หรือ นิ้วในการวัดระยะทาง หรือวัดแบบเต็มคลื่น
(Peak to Peak) ส่วนมากจะใช้กับการเคลื่อนที่ ที่มีความเร็วรอบต่ำๆ ไม่เกิน
1,200rpm ความถี่ออยู่ในช่วง 10Hz – 150Hz เช่น การสั่นสะเทือนของท่อ การวัดแรงสั่นสะเทือนบนพื้น
3. การวัดความเร็ว (Velocity)
เป็น การวัดความเร็วในการเคลื่อนที่ของวัตถุที่สั่นสะเทือนว่า “มีความเร็วเท่าไหร่ในแต่ละรอบของการสั่นสะเทือน ”โดยปกตินิยมวัดเป็นมิลลิเมตร/วินาที (mm/s) และนิ้ว/วินาที (inch/sec) ในการวัดความเร็วเรามักจะวัดแบบ RMS เราจะใช้หน่วยนี้กับการ วัดการสั่นสะเทือน ที่มีความถี่ระหว่าง 10Hz -1,000Hz หรือความเร็วรอบในการหมุนที่สูงกว่า1,200rp เช่น การเยื้องศูนย์ (Misalignment) ความไม่สมดุล (Unbalance)
4. การวัดอัตราเร่ง (Acceleration)
เป็น การวัด“การเปลี่ยนแปลงอัตราส่วนของความเร็วในการเคลื่อนที่ต่อหน่วยเวลาของ วัตถุที่มีเป็นการวัด“การเปลี่ยนแปลงอัตราส่วนของความเร็วในการเคลื่อนที่ ต่อหน่วยเวลาของวัตถุที่มีการสั่นสะเทือน”ใช้ในการใช้ในการวัด การสั่นสะเทือน ที่ความถี่สูงคือ ตั้งแต่ 1,000 Hz ขึ้นไปเพราะว่าการสั่นสะเทือนที่ความถี่สูงนั้นระยะทาง การเคลื่อนที่จะน้อยและ ในขณะเดียวกันความเร็วในการเคลื่อนที่จะสูงมาก เช่น การวัดความสั่นสะเทือนของ Bearing
หากเทียบหน่วยในการวัดความสั่นสะเทือน กับการรับรู้ของมนุษย์ สามารถเปรียบเทียบกันได้ ดังนี้
• Displacement สามารถรับรู้จากการมองเห็น เช่น การสั่นของท่อ
• Velocity สามารถรับรู้จากการสัมผัส การเคลื่อนที่ของวัตถุเริ่มเร็วมากขึ้น เช่น การสั่นสะเทือนของเครื่องจักร
• Acceleration สามารถรับรู้จากการฟัง ความสั่นสะเทือนเกิดจากความถี่สูง ทำให้เกิดเสียง เช่น การสึกกร่อนของ Bearing
โดย ทั่วไปการทดสอบการสั่นสะเทือนจะดำเนินการตรวจสอบการตอบสนองของผลิตภัณฑ์ภาย ใต้สภาวะที่เกิดการสั่นสะเทือน เพื่อตรวจสอบว่าสินค้าไม่กระทบกระเทือนในระหว่างการขนส่ง หรือทหสอบเครื่องจักรที่กำลังทำงาน ว่าสามารถทนต่อการกระแทกได้ เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไข และป้องกันต่อไป
รายการสินค้า:
-
สำหรับเครื่องวัดความสั่นสะเทือน
LANDTEK VM-6320
LANDTEK VM-6360
LANDTEK VM-6370
LANDTEK VM-6380